เมนู

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้เเก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นปัจจุป-
ปันนธรรม ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปับนนธรรมให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิติธรรมที่เป็นปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

4. อนันตรปัจจัย


[1924] 1. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอตีตธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นปัจจปปันนธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ โคตรภู.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ โวทาน.
โคตรภู เป็นปัจจัยแก่ มรรค.
โวทาน เป็นปัจจัยแก่ มรรค.
มรรค เป็นปัจจัยแก่ ผล.

ผล เป็นปัจจัยแก่ ผล.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติ.
เนวสัญญานาสัญาญายตนะของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผล-
สมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย


[1925] 1. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปันนธรรม ด้วย
อำนาจของสมนันตรปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย.


6. สหชาตปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


[1926] 1 . ปัจจุปปันนนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม
ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอัญญมัญญ-
ปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ฯลฯ


9. อุปนิสสยปัจจัย


[1927] 1. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่